โมเดล รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (งานของกลุ่มตัวเอง)
โมเดล รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (งานของกลุ่มตัวเอง)
“การรู้คิด” (MetaCognition)
การรู้คิด หมายถึง การตระหนักรู้และควบคุมกระบวนการรู้คิดของบุคคล คือรู้ว่า ตนกำลังอยู่ในกระบวนการคิดใด และสามารถควบคุมตนเองให้ทำตามนั้นได้ เช่น เรามักนั่งหลับในห้องเรียน (เรารู้ว่าเราเป็นเช่นนั้น) เวลาเข้าห้องเรียนจึงไปนั่งหน้าสุดทุกครั้ง (เพื่อจะได้ไม่หลับ) เป็นต้น
ส่วนกระบวนการรู้คิด (Cognitive processes) ของบุคคล หมายถึง กระบวนการนำข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง ประกอบด้วย 5 กระบวนการ คือ
1. ความใส่ใจ (Attention) ได้แก่ การจดจ่ออยู่กับสิ่งเร้า (ข้อมูล) ที่มากระตุ้น เพื่อรับข้อมูลเข้ามาอยู่ในระบบความจำสัมผัส (Sensory memory)
2. การรับรู้ (Perception) หมายถึง การนำข้อมูลจากความจำสัมผัส ไปแปลความหมายจนเกิดความรู้ ความเข้าใจว่าข้อมูล หรือสิ่งเร้านั้นคืออะไร
3. การทวนซ้ำ (Rehearsal) หมายถึง การทวนข้อมูลที่รู้ หรือเข้าใจซ้ำๆ โดยไม่เปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเหล่านั้น เช่น คัด “ ก” ซ้ำๆ จนเขียน “ก” ได้อย่างสวยงาม เป็นต้น
4. การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง กระบวนการแสดงข้อมูล (เก็บข้อมูล) ไว้อย่างมีความหมายในความจำระยะยาว ทำให้จำได้อย่างแม่นยำ อาจทำได้ดังนี้
4.1 การจัดการ (Organization) หมายถึงการจัดระบบระเบียบของข้อมูล เป็นการนำข้อมูลมาจัดทำเป็นแผนภูมิการจัดลำดับลดหลั่นลงมาของข้อมูล (เช่น การทำแผนยังความคิดรวบยอด-Concept map เป็นต้น) การจัดทำตัวแบบ และการจัดทำเค้าโครง
4.2 การลงลึกในรายละเอียด (Elaboration) หมายถึง การนำข้อมูลใหม่ที่เข้ามาไปสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ก่อน
4.3 การปฏิบัติ (Activity) หมายถึง การกระทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น เพื่อจำข้อมูลในความจำระยะยาวให้ได้ เช่น การถาม-ตอบระหว่างเพื่อน การใช้ยุทธศาสตร์ในการจำ เช่น วิธีโลไซ (Loci) จำตัวย่อ หรือจำเป็นคำคล้องจอง เป็นต้น
5. การค้นคืน (Retrieval) หมายถึง การนำข้อมูลจากความจำมาใช้งาน หรือใช้ในการแก้ปัญหา นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมเชื่อว่า.. การรู้คิด เป็นหัวใจสำคัญของการเกิดการเรียนรู้ จึงต้องสนับสนุน ส่งเสริม ให้นักเรียนมีความสามารถในการรู้คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้.
ส่วนกระบวนการรู้คิด (Cognitive processes) ของบุคคล หมายถึง กระบวนการนำข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง ประกอบด้วย 5 กระบวนการ คือ
1. ความใส่ใจ (Attention) ได้แก่ การจดจ่ออยู่กับสิ่งเร้า (ข้อมูล) ที่มากระตุ้น เพื่อรับข้อมูลเข้ามาอยู่ในระบบความจำสัมผัส (Sensory memory)
2. การรับรู้ (Perception) หมายถึง การนำข้อมูลจากความจำสัมผัส ไปแปลความหมายจนเกิดความรู้ ความเข้าใจว่าข้อมูล หรือสิ่งเร้านั้นคืออะไร
3. การทวนซ้ำ (Rehearsal) หมายถึง การทวนข้อมูลที่รู้ หรือเข้าใจซ้ำๆ โดยไม่เปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเหล่านั้น เช่น คัด “ ก” ซ้ำๆ จนเขียน “ก” ได้อย่างสวยงาม เป็นต้น
4. การเข้ารหัส (Encoding) หมายถึง กระบวนการแสดงข้อมูล (เก็บข้อมูล) ไว้อย่างมีความหมายในความจำระยะยาว ทำให้จำได้อย่างแม่นยำ อาจทำได้ดังนี้
4.1 การจัดการ (Organization) หมายถึงการจัดระบบระเบียบของข้อมูล เป็นการนำข้อมูลมาจัดทำเป็นแผนภูมิการจัดลำดับลดหลั่นลงมาของข้อมูล (เช่น การทำแผนยังความคิดรวบยอด-Concept map เป็นต้น) การจัดทำตัวแบบ และการจัดทำเค้าโครง
4.2 การลงลึกในรายละเอียด (Elaboration) หมายถึง การนำข้อมูลใหม่ที่เข้ามาไปสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ก่อน
4.3 การปฏิบัติ (Activity) หมายถึง การกระทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น เพื่อจำข้อมูลในความจำระยะยาวให้ได้ เช่น การถาม-ตอบระหว่างเพื่อน การใช้ยุทธศาสตร์ในการจำ เช่น วิธีโลไซ (Loci) จำตัวย่อ หรือจำเป็นคำคล้องจอง เป็นต้น
5. การค้นคืน (Retrieval) หมายถึง การนำข้อมูลจากความจำมาใช้งาน หรือใช้ในการแก้ปัญหา นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมเชื่อว่า.. การรู้คิด เป็นหัวใจสำคัญของการเกิดการเรียนรู้ จึงต้องสนับสนุน ส่งเสริม ให้นักเรียนมีความสามารถในการรู้คิดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้.