การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา/ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา

การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา/ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา

การจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา





        โฉมหน้าการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงเรียนเพื่อรู้เท่านั้น แต่เป็นการเรียนเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์เรียนเพื่อรู้จักตัวเอง เรือนเพื่อรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้เพื่อการเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักของการปฏิรูปและเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ดังที่ประเวศ วะสี (2541, หน้า 68) กล่าวว่าการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่จะต้องหล่อหลอมปั้นตกแต่งโดยการสั่งสอน อบรม ไปเป็นการมองคนในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้และงอกงามอย่างหลากหลาย
         สำหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สอง พ.ศ. 2545 เป็นแม่บทหรือเทศทางและนำลงสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องและสำคัญหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสม จากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้พบว่า บางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่บ้าง เช่นผลการวิจัยของสำราญ ตติชรา (2547, หน้า 1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามแนวการปฏิรูปการศึกษา ของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด พบว่าการจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราด ยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลำดับ คือ การประชาสัมพันธ์การสอนการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น การสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอนการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการจัดการเรียนการสอนการประเมินผลตามสภาพจริง การสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การทำวิจัยในชั้นเรียน การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเอง และเมื่อเปรียบเทียบปัญหาต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ปรากฏว่า ผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้อย่างทองแท้จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา



        สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2543, หน้า 4-5) ที่ได้สรุปถึงความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้หรือปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษาซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ดังนี้
        1. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของคนไทยการปฏิรูปวัฒนธรรมการเรียนรู้ใหม่จะช่วยพัฒนาคนไทยให้เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรมตัวหลักในคุณค่าของตนเองผู้อื่นและสรรพสิ่งทั้งหลายรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในคลองลองแห่งความดีงามรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเป็นคนมีเหตุผลยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น เคารพกติกาของสังคมมีความขยันซื่อสัตย์และเสียสละเพื่อส่วนรวมมีความสามารถในการใช้ศักยภาพของสมองได้ทั้งซิกซ้ายและซีกขวาอย่างได้สัดส่วนสมดุลย์กันคือความสามารถในด้านการใช้ภาษาสื่อสารการคำนวนการวิเคราะห์แบบวิทยาศาสตร์คิดเป็นระบบสามารถใช้สติ ปัญญาอย่างเฉลียวฉลาดลึกซึ้งเพื่อเรียนรู้ให้บรรลุความจริงความดีความงามของสรรพสิ่งเป็นคนที่มีสุขภาพกายดีมีวุฒิภาวะทางอารมณ์บุคลิกภาพ ร่าเริงแจ่มใสจิตใจอ่อนโยนและเกื้อกูลมีมนุษย์สัมพันธ์ดีเผชิญหน้าและแก้ปัญหาได้ดำรงชีวิตอย่างอิสระและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
        2. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งของสังคมไทยให้สมาชิกของสังคมมีจิตสำนึกร่วมกันในการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาของส่วนรวมมีการบริหารอย่างถูกต้องแยบยลลดความขัดแย้งทุกคนมีความรับผิดชอบที่จะนำพาสังคมให้ก้าวหน้าและเข้มแข็ง
        3. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทการเรียนรู้ในยุคโลกาภิวัตน์การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องจัดให้สอดคล้องกับโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่วิทยาการเจริญรุดหน้าความรู้และสอบวิทยาการเดินทางไปในที่ต่างๆด้วยความรวดเร็วข้อมูลและข่าวสารต่างๆเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนต้องมีความคล่องแคล่วไฟการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นคอมพิวเตอร์อินเตอร์เน็ตและรู้จักสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตของตนครอบครัวสังคมและประเทศชาติ
        4. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนการปฏิรูปการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองและสังคมไทยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดำเนินตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 ต้นการเปิดแนวทางให้ครูพ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนมีอิสระในการอบรมเลี้ยงดูในการศึกษาจัดหลักสูตรอันจะเป็นการเกื้อหนุน ซึ่งกันและกัน
        5. ปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่สองพ.ศ. 2545 จึงเป็นภารกิจที่มีกฎหมาย