การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมายการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอน หลากหลายแหล่งความรู้ สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย คือ พหุปัญญา รวมทั้งการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์ เดชะคุปต์,2550)
หลักการพื้นฐานของแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ผู้สอน
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู็เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โโยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการเรียนรู็ของผู็เรียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.) การบริหารจัดการ
เป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย การดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ คุณภาพของผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
1.การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่มีจุดเน้นด้านคุณภาพบัณฑิตอย่างชัดเจน
2.การกำหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย
3.การกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
4.การจัดระบบให้มีประกันคุณภาพภายใน
5.การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานผู็เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพจากภายนอก
2.) การจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู็อย่างเป็นรูปธรรมประกอบด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของผู็สอนและบทบาทของผู้เรียน ดังสาระที่ทิศนา แขมมณี (2547) ได้กล่าวไว้ดังนี้
1.การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้
2.การเรียนรู้เป็ฯกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ
3.การเรียนรู้เป็ฯกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกันอาจคิดได้หลายแง่หลายมุม ทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู็ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู็ตามที่สังคมยอมรับด้วย
4.การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกที่เบิกบานเพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้
5.การเรียนรู็เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด
6.การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รู้มากขึ้น ทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
ผู้สอนจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
2.การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3.การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4.การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู็สึกเบื่อหน่าย
5.ความเมตตากรุณาของผู้เรียน
6.การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
7.การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8.การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
9.การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
10.การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11.ความเข้าใจผู้เรียน
12.ภูมิหลังของผู้เรียน
13.การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
14.การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) กล่าวคือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
15.การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16.การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
3.)การเรียนรู้ของผู้เรียน
ลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบด้วย
1.การเรียนรู้อย่างมีความสุข
2.การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง
3.การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู็ที่หลากหลาย
4.การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาาร
5.การเรียนรุ้ด้วยกระบวนการของตนเอง
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนการทางปัญญา (กระบวนการคิด) กระบวนการทางสังคม (กระบวนการกลุ่ม) และให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการเรียน สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต้องจัดให้สอดคล้องกับความสนใจ ความสามารถและความถนัดเน้นการบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ใช้หลากหลายวิธีการสอน หลากหลายแหล่งความรู้ สามารถพัฒนาปัญญาอย่างหลากหลาย คือ พหุปัญญา รวมทั้งการวัดผลอย่างหลากหลายวิธี (พิมพันธ์ เดชะคุปต์,2550)
หลักการพื้นฐานของแนวคิดที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่แตกต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ผู้สอน
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู็เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2545 มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โโยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการเรียนรู็ของผู็เรียน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.) การบริหารจัดการ
เป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญ โดยเฉพาะการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย การดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ คุณภาพของผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้นตัวบ่งชี้ที่แสดงถึงการพัฒนาทั้งระบบของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย
1.การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่มีจุดเน้นด้านคุณภาพบัณฑิตอย่างชัดเจน
2.การกำหนดแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับเป้าหมาย
3.การกำหนดแผนการดำเนินงานในทุกองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับเป้าหมายเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์
4.การจัดระบบให้มีประกันคุณภาพภายใน
5.การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานผู็เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพจากภายนอก
2.) การจัดการเรียนรู้
องค์ประกอบหลักที่แสดงถึงการเรียนรู็อย่างเป็นรูปธรรมประกอบด้วยความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการเรียนรู้ บทบาทของผู็สอนและบทบาทของผู้เรียน ดังสาระที่ทิศนา แขมมณี (2547) ได้กล่าวไว้ดังนี้
1.การเรียนรู้เป็นงานเฉพาะบุคคล ทำแทนกันไม่ได้
2.การเรียนรู้เป็ฯกระบวนการทางสติปัญญาที่ต้องมีการใช้กระบวนการคิด สร้างความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่างๆ
3.การเรียนรู้เป็ฯกระบวนการทางสังคม เพราะในเรื่องเดียวกันอาจคิดได้หลายแง่หลายมุม ทำให้เกิดการขยาย เติมเต็มข้อความรู็ ตรวจสอบความถูกต้องของการเรียนรู็ตามที่สังคมยอมรับด้วย
4.การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เป็นความรู้สึกที่เบิกบานเพราะหลุดพ้นจากความไม่รู้ นำไปสู่ความใฝ่รู้
5.การเรียนรู็เป็นงานต่อเนื่องตลอดชีวิต ขยายพรมแดนความรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุด
6.การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รู้มากขึ้น ทำให้เกิดการนำความรู้ไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ
ผู้สอนจึงต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนี้
1.ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
2.การเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3.การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4.การจัดกิจกรรมให้น่าสนใจ ไม่ทำให้ผู้เรียนรู็สึกเบื่อหน่าย
5.ความเมตตากรุณาของผู้เรียน
6.การท้าทายให้ผู้เรียนอยากรู้
7.การตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8.การสร้างบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
9.การสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
10.การมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11.ความเข้าใจผู้เรียน
12.ภูมิหลังของผู้เรียน
13.การไม่ยึดวิธีการใดวิธีการหนึ่งเท่านั้น
14.การเรียนการสอนที่ดีเป็นพลวัตร (Dynamic) กล่าวคือมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
15.การสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16.การวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
3.)การเรียนรู้ของผู้เรียน
ลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนประกอบด้วย
1.การเรียนรู้อย่างมีความสุข
2.การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง
3.การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู็ที่หลากหลาย
4.การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาาร
5.การเรียนรุ้ด้วยกระบวนการของตนเอง