การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง





         ความหมาย
                  การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นผลประโยชน์ของผู้เรียน ตอบสนองต่อความต้องการต่างๆ เป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง เรียนรู้อย่างมีความสุข และพัฒนาการทักษะในด้านต่างๆได้เต็มศักยภาพ 

         แนวคิด 
                  1.ผู้เรียนต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตน 
                  2.เนื้อหาวิชามีความสำคัญและมีความหมายต่อการเรียน 
                  3.การเรียนรู้จะประสบผลสำเร็จถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วย 
                  4.สัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้เรียน การมีปฏิสัมพันธ์ 
                  5.ครูเป็นมากไปกว่าผู้สอน ครูเป็นทั้งทรัพยากรบุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยความสะดวก 
                  6.ผู้เรียนมีโอกาสเห็นตนเองในแง่มุมที่แตกต่างจากเดิม 
                  7.การศึกษาเป็นพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนหลายๆด้าน 
                  8.ผู้เรียนได้เรียนรูวิธีการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ 
                  9.การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ 
                  10.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดประชาธิปไตย 
                  11.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสอนให้ผู้เรียนรู้จักวิพากษ์วิจารณ์ 
                  12.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทำให้เกิดการนำตนเอง 
                  13.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 
                  14.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางก่อให้เกิดมโนทัศน์ของตน 
                  15.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการเสาะแสวงหาความสามารถพิเศษของผู้เรียน 
                  16.การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นวิธีการที่ดีจะช่วยดึงศักยภาพของผู้เรียน 

รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


         ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีรูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายกว่าคือ
         รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การเรียนรู้แบบสืบสวน การเรียนรู้การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้แบบกระบวนการทางปัญญาการเรียนรู้โดยใช้แผนการออกแบบประสบการณ์ วิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น เกมการศึกษา สถานการณ์จำลอง กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติ การแก้ปัญหา โปรแกรมสำเร็จรูป ศูนย์การเรียน ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์

         การสอนโดยใช้วิธีบทบาทสมมติ 
                  เป็นการสอนที่จะช่วยให้หาลักษณะเฉพาะของตนในสังคม และรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยความช่วยเหลือของกลุ่มสังคมยอมรับให้บุคคลทำงานด้วยกันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาระหว่างบุคคลและพัฒนาวิถีประชาธิปไตยเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ
         การสอนโดยอาศัยการเรียนบนพื้นฐานของปัญหา 
                  จะช่วยพัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบในการคิดแก้ปัญหา 
         การเรียนรู้แบบร่วมมือกันในชั้นเรียนบูรณาการ 
                  เนื้อหาในส่วนนี้มุ่งทบทวนวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน 
         รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 
                  ได้แก่ แบบรวมหัวกันคิด แบบร่วมมือ แบบประสานความรู้ แบบประชุมโต๊ะกลม 
         การสอนด้วยวิธีการคิดแบบหมวกหกใบ
                  ทำให้ผู้เรียนมีหลักในการจำแนกความคิดออกเป็น 6 ด้าน ทำให้สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยการคิดทีละด้านอย่างเป็นระบบ เป็นการเพิ่มศักยภาพให้ทักษะการคิด ทำให้ไม่คิดกระโดดไปกระโดดมา หรือคิดพร้อมกันทุกอย่างในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้สับสนใช้เวลานาน และสรุปไม่ได้