รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
ความหมายของรูปแบบ (Model) รูปแบบเป็นรูปธรรมของความคิดที่เป็นนามธรรม ซึ่งบุคคลแสดงออกมาในลักษณะใด ลักษณะหนึ่ง เช่น เป็นคําอธิบาย เป็นแผนผัง ไดอะแกรม หรือแผนภาพ เพื่อช่วยให้ตนเองและบุคคล อื่นสามารถเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น รูปแบบเป็นเครื่องมือทางความคิดที่บุคคลใช้ในการสืบสอบหาคำตอบความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ทั้งหลาย ผู้ศึกษาจะต้องตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ ซึ่งในกระบวนการวิจัยจะมีการตั้งสมมุติฐานหรือชุดของสมมุติฐานขึ้นมา ซึ่งก็คือคำตอบที่คาดคะเนไว้ล่วงหน้า
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนําไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)
2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการ (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3 รปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก สูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4 รปแบบเชิงแผนผัง (Schernatic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแยก แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็น แบบนี้เป็นส่วนใหญ่
รูปแบบโดยทั่วไปจะต้องมีองค์ประกอบที่สําคัญดังนี้
1. รูปแบบจะต้องนําไปสู่การทํานาย (prediction) ผลที่ตามมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ ทดสอบได้ กล่าวคือ สามารถนําไปสร้างเครื่องมือเพื่อไปพิสูจน์ทดสอบได้
2. โครงสร้างของรูปแบบจะต้องประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งสามารถใช้อธิบายปรากฏการณ์เรื่องนั้นได้
3. รูปแบบจะต้องสามารถช่วยสร้างจินตนาการ (imagination) ความคิดรวบยอด (concept) และความสัมพันธ์ (interrelations) รวมทั้งช่วยขยายขอบเขตการสืบเสาะความรู้
4. รูปแบบควรจะประกอบด้วยความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง (structural relationships) มากกว่า ความสัมพันธ์เชิงเชื่อมโยง (associative relationships)
รูปแบบ (Model) ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป
มี 4 แบบ หรือ 4 ลักษณะ คือ (Kaplan, 1964 อ้างถึงใน Keeves, 1997 : 386 – 387)
1. รูปแบบเชิงเปรียบ (Analogue Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก ของการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ อย่างน้อย 2 สิ่งขึ้นไป รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทาง กายภาพ สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์2. รูปแบบเชิงภาษา (Semantic Model) ได้แก่ ความคิดแสดงออกผ่านทางการ (พูดและเขียน) รูปแบบลักษณะนี้ใช้กันมากทางด้านศึกษาศาสตร์
3 รปแบบเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออก สูตรคณิตศาสตร์ ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นหลังจากได้รูปเชิงภาษาแล้ว
4 รปแบบเชิงแผนผัง (Schernatic Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงออกผ่านทางแยก แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟ เป็นต้น
5. รูปแบบเชิงสาเหตุ (Causal Model) ได้แก่ ความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพัน เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ปัญหาใดๆ รูปแบบด้านศึกษาศาสตร์ มักจะเป็น แบบนี้เป็นส่วนใหญ่
องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน
ก.มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของรูปแบบการสอนนั้นๆ
ข.มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับหลักการที่ยึดถือ
ค.มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบให้สามารถนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้นๆ
ง.มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่างๆ อันจะช่วยให้กระบวนการเรียนการสอนนั้นๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด