การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน/บทบาทของผู้ออกแบบ/ประเภทของสื่อ

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน/บทบาทของผู้ออกแบบ/ประเภทของสื่อ

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน


                คำว่า สื่อ (medium หรือ media) ในที่นี้มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตำรา เทป วีดีทัศน์ภาพยนตร์และคอมพิวเตอร์ medium หรือ media มาจากภาษาละติน หมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปที่ประชาชน เป็นพาหนะของการโฆษณา (Guralnikjv07,1970)
       กลยุทธ์การสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการพัฒนาจุดประสงค์ของการเรียนการสอนแล้ว แบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knirk and Gustafson, 1986 : 196) ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอนเพื่อการค้าที่ประสบความสำเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำจากอย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิตง่ายได้ที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่ายและเขียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ

บทบาทของผู้ออกแบบ

                ผู้ออกแบบมีหน้าที่ที่จะเติมเต็มความสมบูรณ์ในขั้นตอนการตัดสินใจในระยะนี้ผู้ออกแบบมีหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจ ผู้ออกแบบจะต้องจำกัดบทบาทในการทำหน้าที่ ต้องสามารถปฏิบัติให้แล้วเสร็จและมีประสิทธิภาพต้องรับรู้กันชนหน้าที่เป็นผู้ผลิตสื่อ ผู้ถ่ายภาพ หรือผู้วางโปรแกรมด้วยและเป็นการท้าทายสำหรับผู้ออกแบบในการที่จะพยายามทำให้ได้

ประเภทของสื่อ


  1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติทางเสียง การเตรียมเทปสำหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
  2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆที่เป็นของจริงรูปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจำลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลด์ แผ่นใส่
  3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดีโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นเช่นดิจิตอล วีดีโอ อินเตอร์แอคทีฟเทคโนโลยี
  4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจำลองในการทำงาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จำลอง