ประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

ชื่อรายวิ
การจัดการเรียนรู้ และการจัดการในชั้นเรียน  
หมวดวิชา  
วิชาเฉพาะ
ระดับวิชา  
ปริญญาตรี                                         
รหัสวิชา  
๓๑๓๐๐๓๐๖
หน่วยกิต  
 (๓--๖)                            
ภาคเรียนที่  
/๒๕๖๐
เงื่อนไขรายวิชา  
ไม่มี                    
ประเภทวิชา  
กลุ่มวิชาชีพครู
อาจารย์ผู้สอน







ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา  ธงพานิช                                                                           
๑. คำอธิบายรายวิชา
       ความหมาย กระบวนการของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้   ทฤษฎีการเรียนรู้ และการสอน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ สภาพปัจจุบัน และปัญหาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ในประเทศไทย การวิเคราะห์ผู้เรียน และวิธีที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี การกำหนดจุดประสงค์ของการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ การบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนร่วม การพัฒนา และเลือกใช้สื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ การวัด และประเมินผลตามสภาพจริงและเทคนิควิทยาการการจัดการเรียนรู้ การจัดทำแผนการเรียนรู้ในระดับต่างๆ

๒. วัตถุประสงค์
          ๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสภาพการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน
          ๒. เพื่อให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการต่างๆ รูปแบบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
          ๓. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน และวิชาชีพครู โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ๔. เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการเนื้อหาในสาระการเรียนรู้ และการเลือกสื่อนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ การจัดแผนการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
     
๓. เนื้อหาวิชากับเวลาที่กำหนดให้เรียน


       สัปดาห์ที่
              หัวข้อรายละเอียด
         จำนวน
            ชั่วโมง
        กิจกรรมการเรียนการสอนและสื่อที่ใช้
ชื่อผู้สอน
       แนะนำรายวิชาและคำอธิบายรายวิชาการจัดการเรียนการสอน
               ๒
         บรรยาย
           อภิปราย
          ผศ.ดร.พิจิตรา
       บทที่ ๑ แนวคิดการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
       ๑.๑ ความต้องการจำเป็นสำหรับการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
       ๑.๒ นิยามการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
       ๑.๓ ประโยชน์ของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้
      ๑.๔ แบบจำลองการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ทั่วไป
      ๑.๕ บทบาทของผู้ออกแบบและการจัดการเรียนรู้
      ๑.๖ งานและผลผลิตสมรรถภาพของการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ สรุป
              ๔
           บรรยาย
           อภิปราย
          เอกสาร       ประกอบ
         การสอน
           ผศ.ดร.พิจิตรา
๓-๔
       บทที่ ๒ วิธีการสอนและเทคนิค   การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       ๒.๑ วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       ๒.๒ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       ๒.๓ เทคนิควิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       ๒.๔ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       ๒.๕ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
              ๔
           บรรยาย
           อภิปราย
           เอกสาร       ประกอบ
           การสอน
          ผศ.ดร.พิจิตรา
๕-๖
       บทที่ ๓ รูปแบบการเรียนการสอน
      ๓.๑ รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
      ๓.๒ รูปแบบการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนปกติ
      ๓.๓  กระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
              ๔
           บรรยาย
          อภิปราย
           เอกสาร        ประกอบ
           การสอน
           ผศ.ดร.พิจิตรา
       บทที่ ๔ กลยุทธ์การเรียนการสอน
       ๔.๑ สภาวการณ์เรียนการสอนพื้นฐาน
       ของการเรียนการสอน
       ๔.๒ ความต้องการทฤษฎีการเรียนการสอน
       ๔.๓ ธรรมชาติของทฤษฎีการเรียนการสอน
       ๔.๔ ทฤษฎีการเรียนการสอน
       ๔.๕ หลักการเรียนรู้
       ๔.๖ การวิจัยการเรียนรู้
       ๔.๗ ความเข้าใจผู้เรียนและการเรียน
       ๔.๘ การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
       ๔.๙ รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
             ๔
           บรรยาย
           อภิปราย
            เอกสาร      ประกอบ
           การสอน
           ผศ.ดร.พิจิตรา
              สอบกลางภาค


          ผศ.ดร.พิจิตรา
๙-๑๐
       บทที่ ๕ การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
       ๕.๑ ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา
       ๕.๒ แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
       ๕.๓การปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
       ๕.๔ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
       ๕.๕ บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา
             ๔
            บรรยาย
           อภิปราย
           เอกสาร       ประกอบ
          การสอน
           ผศ.ดร.พิจิตรา
๑๑-๑๒  
       บทที่ ๖ การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้
       ๖.๑ บทบาทของผู้ออกแบบ
       ๖.๒ ประเภทของสื่อ
       ๖.๓ การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
              ๔
          บรรยาย
          อภิปราย
          เอกสาร       ประกอบ
           การสอน
           ผศ.ดร.พิจิตรา
๑๓-๑๕
       บทที่ ๗ การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้
       ๗.๑ ความหมายของการวางแผนการสอน
       ๗.๒ ความจำเป็นของการวางแผนการสอน
       ๗.๓ ข้อมูลที่ถูกต้องใช้ในการวางแผนการสอน
       ๗.๔ แนวทางการวางแผนการสอน
       ๗.๕ การเขียนแผนจัดการเรียนรู้
       ๗.๖ แผนจัดการเรียนรู้
      ๗.๗ การวัดและการประเมินผล
             ๔
          บรรยาย
         อภิปราย
         เอกสาร         ประกอบ
         การสอน
          ผศ.ดร.พิจิตรา
๑๖
        สอบปลายภาค


            ผศ.ดร.พิจิตรา
       รวมจำนวนชั่วโมงตลอดภาคการเรียน
            ๔๘




กิจกรรมการเรียนการสอน
        ๑.ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนการสอนและตำราเกี่ยวกับ วิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน
        ๒.บรรยายและสรุปสาระการเรียนรู้โดยอาจารย์ประจำวิชา
        ๓.อภิปราย วิเคราะห์ วิจารณ์และซักถาม
        ๔.ศึกษาเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
        ๕.ปฏิบัติกิจกรรมรวมกลุ่มและกิจกรรมรายบุคคล
        ๖.ทดสอบปลายภาคเรียน

สื่อการเรียนการสอน
        ๑.เอกสารประกอบการสอน ตำรา สิ่งพิมพ์ต่างๆ
        ๒.วีดีทัศน์เกี่ยวกับการสอนและเรื่องที่เกี่ยวข้อง
        ๓.กิจกรรมรวมกลุ่ม คำถามท้ายบท
        ๔.สื่อสไลด์ Power Point

๖. เอกสารประกอบการศึกษาค้นคว้า
๑.วิชาการจัดการเรียนรู้และการจัดการในชั้นเรียน

๗. การเตรียมด้านการวัดผล
        ๑.สังเกตการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้เรียน
๑.๑  การเข้าเรียนและความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโดยสม่ำเสมอ
๑.๒  การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
๑.๓  การทำงานกลุ่ม
๑.๔  การร่วมแสดงกิจกรรม
        ๒.การตรวจผลงาน
๒.๑  ตรวจรายงานบุคคล
๒.๒  ตรวจรายงานกลุ่ม
๒.๓  ตรวจคำถามท้ายบทและประเมินผลงาน

๘. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล
        ๑.การวัดผล
        ๒.คะแนนรวมระหว่างภาค                                                                            ร้อยละ ๗๐
๒.๑  ศึกษาเอกสารและรายงานหน้าชั้น                                             ร้อยละ ๑๐
๒.๒  ประเมินกิจกรรมเทคนิคออกแบบกาจัดการเรียนรู้                        ร้อยละ ๑๐
๒.๓  ประเมินผลจากการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้                           ร้อยละ ๒๐
๒.๔  ความสนใจและเข้าเรียน                                                         ร้อยละ ๑๐
๒.๕  คะแนนสอบกลางภาคเรียน                                                     ร้อยล่ะ ๒๐
        ๓.คะแนนสอบปลายภาค                                                                             ร้อยละ ๓๐
        ๔.ขาดเรียนครบกำหนด 4 ครั้ง ไม่มีสิทธิ์สอบและปรับผลประเมินเป็น F ในรายวิชานี้

๙. เกณฑ์การประเมินผล

คำถามท้ายบทที่ 7

คำถามท้ายบทที่ 7

คำถามท้ายบทที่ 7

1. จากการศึกษาข้อมูลในบทที่ 7 ท่านคิดว่าการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยากหรือง่ายเพียงใดและขั้นตอนการเขียนแผนจัดการเรียนรู้สำหรับตัวท่านแล้วขั้นตอนใดมีความยากหรือง่ายที่สุดในการพัฒนา 3 อันดับแรก   เพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยากมาก และขั้นตอนในการวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้นั้นมีความยากตามลำดับดังนี้
1.      ขั้นที่ ขั้นจัดเตรียมเครื่องมือ สื่อการสอน และแหล่งเรียนรู้ เอกสารแระกอบการสอนและเอกสารการประเมินผล เพราะสื่อจะต้องใช้ควรจะทำให้น่าสนใจและเหมาะสมกับผู้เรียนเป็นเรื่องยาก ถ้าสื่อมีความซ้ำซากจำเจจะทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่ายได้
2.      ขั้นที่ นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปจัดการในชั้นเรียน เพราะ การนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ต้องมีความพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาที่ไม่คาดคิดได้ การแก้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากแผนการสอนเป็นที่ทำได้แต่ก็ยาก
3.      ขั้นที่ เลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และตัวชี้วัด ในแต่ละเรื่อง เพราะ การจะเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมต้องศึกษาความต่างระหว่างบุคคลและอื่นๆอีกมากมาย
2. ในประโยคที่ว่าในปัจจุบันการวัดผลไม่ได้ไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบหรือการสอบอย่างเดียวแต่ยังต้องประเมินสภาพแท้จริงของผู้เรียนสำหรับท่านประโยคนี้มีความหมายอย่างไรและมีวิธีการปฏิรูปจึงได้อย่างไร
ตอบ สำหรับข้าพเจ้าแล้วในประโยคที่ว่าในปัจจุบันการวัดผลไม่ได้ไม่ใช่เพียงแค่การทดสอบหรือการสอบอย่างเดียวแต่ต้องประเมินสภาพแท้จริง คือ ในการประเมินผลของผู้เรียนควรจะประเมินตามสภาพจริงที่จะประเมินในหลายๆด้าน ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในด้านต่างๆ และความมีเจตคติที่ดี ไม่ใช่ประเมินแค่ด้านความรู้เท่านั้น
            ในการปฏิรูปต้องกำหนดคุณลักษณะที่ต้องการของ    ผู้เรียน  รวมทั้งแนวทางในการดำเนินให้บรรลุเป้าหมาย  ในการนำหลักสูตรไปใช้  ผู้ใช้หลักสูตร  จึงต้องวิเคราะห์จุดหมายของหลักสูตรให้เป็นจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ชัดเจนเพื่อจะได้จัด  กิจกรรมหรือกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ตามที่จุดประสงค์ การเรียนการสอนกำหนด  และการที่ผู้ใช้หลักสูตรจะตรวจสอบหรือทราบว่าผลเกิดจากการเรียนการสอนเป็นอย่างไร  มีสิ่งใดบ้างต้องปรับปรุงแก้ไข  และผู้เรียนได้บรรลุหรือพัฒนาความก้าวหน้าตรงตามจุดประสงค์การเรียนการสอนที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใดนั้น  ก็ต้องมีการวัดและประเมินผล  การเรียนรู้ของผู้เรียน  การวัดและประเมินผลการเรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดเสียมิได้
3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 7 เรื่อง  การวางแผนการเขียนแผนการสอนและแผนจัดการเรียนรู้โดยอยู่ในรูปแบบแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด


คำถามท้ายบทที่ 6

คำถามท้ายบทที่ 6

คำถามท้ายบทที่ 6

1. สื่อการเรียนการสอนนั้นคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ท่านเคยมีความประทับใจจากการที่ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ ในรายวิชาที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพหรือไม่และผู้สอนใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สื่อการเรียนการสอน คือ ตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมีหน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังช่วยประหยัดเวลาในการสอน
            มีความประทับใจในการเรียนรู้รายวิชาที่มีสื่อการสอนที่แปลกใหม่ มันดูน่าตื่นเต้นและสนุกทำให้เราเกิดการเรียนรู้โดยไม่ตั้งใจ ผู้สอนจะใช้สื่อที่เป็นบอร์ดกระดานส่งข้อความจะมีรูปฟังก์ชันคล้ายกับโปรแกรมแชทต่างๆ จะมีตัวกลางเป็นเป็ดถ้าเราพูดประโยคในการสื่อสารถูกเป็นก็จะเดินไปข้างหน้า ถ้าพูดประโยคผิดเป็ดก็จะถอยหลัง เป็นสื่อการสอนที่สนุกมากๆ

2. หากท่านมีโอกาสได้จัดการเรียนการสอนเรื่อง อาหารพื้นเมืองอีสานให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ท่านจะเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนอะไรบ้างเพราะเหตุใดจงอธิบาย
ตอบ สื่อวีดิโออาหารพื้นเมืองอีสาน จาก YouTube โดยการเปิดวีดิโอให้เด็กได้ดูการทำอาหาร ส่วนประกอบและเรียนรู้จากวีดิโออาจจะเป็นอาหารที่ทำง่ายๆอยางเช่นส้มตำ และอาจจะใช้สื่อของจริง คือซื้ออาหารพื้นบ้านอีสานมาให้นักเรียนกินและวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบและให้นักเรียนลงมือทำเอง

3. จงเขียนภาพรวมของเนื้อหาสาระสำคัญของบทที่ 6 เรื่องการเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบของแผนผังความคิด Mind Mapping โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาให้สมบูรณ์ที่สุด